ข่าวสารและบทความ

การทดสอบค่าความต้านทานฉนวนไฟฟ้า

Admin
17 มกราคม 2564

การทดสอบค่าความต้านทานฉนวนไฟฟ้า

  1. ฉนวนไฟฟ้าที่ดีคืออะไร ?ฉนวนไฟฟ้าที่ดี คำนี้เป็นผลมาจากค่าความต้านทานฉนวนไฟฟ้ากระแสไฟฟ้าสูง เป็นคำที่ใช้อธิบายวัสดุฉนวนไฟฟ้าที่ดี ดังนั้นต้องหาวิธีที่เหมาะสมในการวัดค่าความต้านทาน การตรวจสอบค่าความต้านทานของฉนวน ตามระยะช่วงเวลาสามารถตรวจสอบการเสื่อมสภาพของฉนวนได้จากกฏของโอห์ม
            R = E/I
            R = ความต้านทานหน่วยเป็นโอห์ม ()
            E = แรงดันไฟฟ้าหน่วยเป็นโวลต์ (V)
            I  = กระแสไฟฟ้าหน่วยเป็นแอมแปร์ (A)

อย่างไรก็ตามค่าความต้านทานของฉนวนไฟฟ้าจะมีค่าสูงมาก อาจจะสูงเป็นเมกะโอห์ม (Megohm) หรือ M (106 ) กิกะโอห์ม (Gigohm) หรือ G (109 ) หรือ เทราโอห์ม (Tera ohm) หรือ T (1012 )

  1. อะไรที่ทำให้ฉนวนไฟฟ้าแย่ลง ?ความเสียหายของฉนวนไฟฟ้าเกิดจากความเสียหายทางกล การสั่น ความร้อนหรือความเย็นสูงเกิน, สิ่งสกปรก, น้ำมัน, ไอกัดกร่อน, ความชื้นหรือเปียก, ถูกเจาะ, แตกร้าว สิ่งเหล่านี้เป็นสาเหตุทำให้เกิดความต้านทานฉนวนต่ำลง ก็จะเป็นเหตุให้เกิดกระแสไฟฟ้ารั่วไหล

ในบางครั้งความต้านทานของฉนวน อาจจะตกลงอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้อาจเนื่องมาจาก อุปกรณ์ไฟฟ้านั้นถูกน้ำท่วม  แต่โดยปกติทั่วไปความต้านทานที่ค่อย ๆ ตกลงอย่างต่อเนื่องย่อมส่งสัญญาณเตือนถึงความเสียหายในที่สุด ถ้าความต้านทานฉนวนไฟฟ้ายิ่งแย่ลง ย่อมเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้ารั่วไหล ซึ่งทำให้เป็นอันตรายต่อบุคคลที่อาจจะสัมผัสกับแรงดันไฟฟ้า หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าและเกิดไฟไหม้เสียหายได้

  1. เราจะวัดค่าความต้านทานฉนวนไฟฟ้าได้อย่างไร ?เครื่องวัดความเป็นฉนวนเมกเกอร์ (Megger Insulation Tester) เป็นเครื่องวัดชนิดพกพา สามารถอ่านค่าความต้านทานฉนวนได้โดยตรง โดยมีย่านวัดการเป็นฉนวนที่ดี ย่านเมกะโอห์ม (M) กิกะโอห์ม (G) หรือ เทราโอห์ม  (T)

เครื่องวัดความเป็นฉนวนเมกเกอร์ เป็นเครื่องมือวัดย่านความต้านทานสูง ๆ โดยมีการสร้างเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรง  (DC) อยู่ภายใน โดยมีขนาดแรงดันเลือกย่านได้ 500 V, 1,000 V, 2,500 V หรือ 5,000 V เครื่องวัดจะประกอบด้วยขดลวดแรงดัน และขดลวดกระแสแล้วอ่านค่าจริงออกมาเป็นโอห์ม วิธีการวัดดังกล่าวเป็นการวัดแบบไม่ทำลาย  จึงไม่เป็นเหตุให้ฉนวนไฟฟ้าเสียหาย

  1. ทำไมต้องมีการทดสอบค่าความต้านทานฉนวนไฟฟ้า ?
    โดยปกติการทดสอบค่าความต้านทานฉนวนไฟฟ้า ก็เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดไฟฟ้าดูด (Electrical Shocks) เพื่อเป็นการป้องกันบุคคล และเป็นการลดหรือจำกัดการหยุดการทำงาน การทดสอบค่าความต้านทานฉนวนไฟฟ้าเป็นการตรวจจับการเสื่อมของฉนวน แล้วบันทึกลงในตารางการซ่อมแซม เช่น ทำความสะอาดด้วยสุญญากาศ, ทำความสะอาดด้วยไอน้ำ, การทำให้แห้งและการพันขดลวดใหม่ มันจะเป็นการช่วยการประเมิณคุณภาพของการซ่อม ก่อนที่อุปกรณ์ไฟฟ้าจะถูกนำกลับไปใช้งานอีกครั้งหนึ่ง
  2. อุปกรณ์ไฟฟ้าอะไรที่ต้องทดสอบการเสื่อมของฉนวน ?
    * หม้อแปลงไฟฟ้า (ขั้วต่อไฟฟ้ากับกราวด์)
    * มอเตอร์ไฟฟ้า (ขั้วต่อไฟฟ้ากับกราวด์)
    * สวิตช์เกียร์ และเซอร์กิตเบรกเกอร์
    * สวิตช์บอร์ด และศูนย์ควบคุมมอเตอร์
    * สายเคเบิล
    * ฉนวนและบุชชิ่ง

การทดสอบเพื่อการบำรุงรักษา จะช่วยให้ฉนวนยังคงมีคุณภาพ พื้นฐานหลักในการทดสอบอุปกรณ์ไฟฟ้า คือการทดสอบฉนวนมอเตอร์, ทดสอบฉนวนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า และทดสอบฉนวนหม้อแปลง หรืออื่น ๆ
เครื่องมืออะไรที่จำเป็นในการทดสอบ ค่าความต้านทานฉนวนไฟฟ้า ?
* เมกะโอห์มมิเตอร์ (Megohm Meter) โดยทดสอบตามเวลา
* ตรวจจับอุณหภูมิ (Thermometer) 
* มิเตอร์วัดความชื้น (Humidity Meter) ไม่จำเป็นต้องใช้มิเตอร์วัดความชื้นเมื่อใช้ทดสอบกับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีอุณหภูมิเหนือจุดน้ำค้าง

 

 

Everything of Electrical Engineering